สำนักงานเทศบาลตำบลชุมพร

Municipality Chumporn

ข้อมูลทั่วไป


ออนไลน์ : 6

หัวข้อ :: ข้อมูลทั่วไป

สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐานขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น


สภาพทั่วไปและข้อมูลพื้นฐาน
          เทศบาลตำบลชุมพร  ตั้งอยู่บ้านชุมพรใหม่ หมู่ที่ 12   ตำบลชุมพร อำเภอเมยวดี จังหวัดร้อยเอ็ด ได้เปลี่ยนแปลงฐานะมาจากสภาตำบลเป็นองค์การบริหารส่วนตำบล เมื่อวันที่ 29   มีนาคม  2539 ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับประกาศทั่วไป เล่ม 113 ตอนที่ 9 ง ลงวันที่ 30 มกราคม  2549 และประกอบกับเทศบาลตำบลชุมพรได้รับการจัดตั้งเป็นเทศบาลตำบลชุมพร ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องจัดตั้งองค์การบริหารส่วนตำบลชุมพรเป็นเทศบาลตำบลชุมพร ลงวันที่ 18 กรกฎาคม 2551 ตั้งอยู่ห่างจากอำเภอเมยวดี เป็นระยะทางประมาณ 14 กิโลเมตร เทศบาลตำบลชุมพรมีพื้นที่ทั้งหมด 52,748 ไร่หรือเนื้อที่หมด  61.81 ตารางกิโลเมตรมีหมู่บ้าน 14 หมู่บ้าน เป็นเทศบาลตำบลขนาดกลาง   โดยมีอาณาเขตดังนี้
                   ทิศเหนือ          ติดต่อกับ         ตำบลชมสะอาด  อำเภอเมยวดี  จังหวัดร้อยเอ็ด
                   ทิศตะวันออก     ติดต่อกับ         ตำบลกกโพธิ์  อำเภอหนองพอก  จังหวัดร้อยเอ็ด
                   ทิศใต้             ติดต่อกับ         ตำบลแวง  อำเภอโพนทอง  จังหวัดร้อยเอ็ด
                   ทิศตะวันตก      ติดต่อกับ         ตำบลหนองใหญ่  อำเภอโพนทอง  จังหวัดร้อยเอ็ด
 
         
เทศบาลตำบลชุมพร  แบ่งเขตการปกครองออกเป็น  14  หมู่บ้าน
             
ประชากรและบ้าน ระดับตำบล ของตำบลชุมพร มีดังนี้


    (ข้อมูล ณ วันที่ 9   เดือนตุลาคม  พ.ศ. 2561 เวลา 15:47 น. : สำนักทะเบียนอำเภอเมยวดี)

      

ลักษณะภูมิประเทศและภูมิอากาศ
        ลักษณะภูมิประเทศของเทศบาลตำบลชุมพร   มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบสูงเป็นพื้นที่การเกษตร พื้นที่ทั้งหมด เหมาะแก่การทำนาในฤดูฝนแต่ขาดแคลนน้ำเพื่อการเกษตรในฤดูแล้ง สภาพดินโดยทั่วไปเป็นดินเนื้อปานกลางหรือค่อนข้างเป็นทรายความอุดมสมบูรณ์ปานกลางถึงต่ำมีแหล่งน้ำธรรมชาติที่สำคัญ ได้แก่ ลำน้ำยัง  ลำห้วยกลอย  ลำห้วยไผ่และลำห้วยทราย  ซึ่งมีต้นน้ำบนเทือกเขาภูพาน อีกประการหนึ่ง  คือ  ตำบลชุมพร เป็นตำบลที่อยู่ใกล้ชิดกับตำบลชมสะอาด อำเภอเมยวดี ซึ่งเป็นแหล่งรองรับผลิตผลทางการเกษตรและพืชผลต่างๆ ทั้งยังเป็นแหล่งรองรับแรงงานและการจ้างงานนอกภาคเกษตรกรรมอีกด้วย  นอกจากนี้บริเวณใกล้ชุมชนยังมีหนองน้ำ  เพื่อกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้งด้วย  มีทุ่งหญ้า  จึงเหมาะสำหรับส่งเสริมการเกษตร ปศุสัตว์  ผลิตผลทางการเกษตรที่สำคัญ  ได้แก่  ข้าว มันสำปะหลัง อ้อย ยางพารา  พืชผัก และเลี้ยงสัตว์ ฯลฯ  ส่วนการประกอบอาชีพอื่น ๆ นอกภาคเกษตรกรรม ได้แก่  รับจ้างทั่วไป  ค้าขาย  ทอผ้า  จักรสาน  เป็นต้น
ลักษณะภูมิอากาศของเทศบาลตำบลชุมพร  จัดอยู่ในประเภทอากาศแบบฝนเมืองร้อนเฉพาะฤดูร้อนหรือแบบทุ่งหญ้าเมืองร้อน ภูมิอากาศมี  3 ฤดู คือ ฤดูร้อน ฤดูฝน และฤดูหนาว ดังนี้
 
          ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ ถึงเดือนพฤษภาคมของทุกปี ซึ่งเดือนที่ร้อนที่สุดคือเดือนเมษายน
          ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน ถึงเดือนกันยายนของทุกปี ซึ่งเดือนที่มีฝนตกซุกที่สุดคือเดือนสิงหาคม
          ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมของทุกปี ถึงเดือนมกราคม ที่หนาวที่สุด
 
สภาพทางเศรษฐกิจ
1.       อาชีพ  ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมและอาชีพอื่น เช่น ทำนา ทำสวน
ทำไร่ เลี้ยงสัตว์ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ทอผ้า
          การเกษตรกรรม เป็นอาชีพหลักของประชากรในพื้นที่ ได้แก่ การทำนา ทำไร่ พืชทางเศรษฐกิจที่  สำคัญ ได้แก่  ข้าว มันสำปะหลัง  อ้อย ถั่ว   ยาเตอร์กีส์ ยางพารา ยูคาลิปตัส เป็นต้น

สภาพสังคม
1.      การศึกษา
           - โรงเรียนประถมศึกษา                           จำนวน             4      แห่ง
           - ที่อ่านหนังสือประจำหมู่บ้าน                   จำนวน           14      แห่ง
           - ศูนย์การเรียนชุมชน                              จำนวน             2      แห่ง
           - ศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก                              จำนวน             4      แห่ง
           - โรงเรียนมัธยมศึกษา (ขยายโอกาส)        จำนวน             3      แห่ง
2.      สถาบันและองค์การทางศาสนา
           - วัด                                          จำนวน             5        แห่ง
           - สำนักสงฆ์                                  จำนวน           2        แห่ง
3.   สาธารณสุข
           - โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล  จำนวน            2     แห่ง
           - อัตราการมีและใช้ส้วมราดน้ำ  ร้อยละ 100
4.   ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน
           - ตู้ยามตำรวจตำบลชุมพร                       จำนวน       1        แห่ง 

ข้อมูลพื้นฐาน
          การคมนาคม
เส้นทางที่ใช้ในการเดินทางและขนส่งผลผลิตทางการเกษตรของประชาชนใช้การคมนาคมทางบกสภาพถนนส่วนใหญ่เป็นถนนลูกรังและถนนคอนกรีตเสริมเหล็ก (ค.ส.ล.) ภายในหมู่บ้านบางส่วน ถนนสายหลักที่ใช้ ได้แก่         
ถนนลาดยาง
          -  ทางหลวงแผ่นดินหมายเลข  2418  ผ่านอำเภอโพนทอง  –  บ้านหนองเดิ่น  –  บ้านชุมพร  –  บ้านหนองโน  -  อำเภอเมยวดี   จังหวัดร้อยเอ็ด
          -  ถนนทางหลวงชนบทระหว่างบ้านหนองเดิ่น  –  บ้านโคกสี  -  บ้านหนองเมย
          -  ถนนทางหลวงชนบท ระหว่างบ้านโคกสี  –  บ้านหนองบัว
          -  ถนนทางหลวงชนบทจากบ้านวังยาว  –  บ้านหนองแวงห้วยทราย  –  บ้านโคกสี
          -  ถนนคอนกรีตจากบ้านชุมพร  –  บ้านนาเจริญ
          -  ถนนลาดยางบ้านโคกสี  –  บ้านชมสะอาด       
 

วันที่ : 26 มกราคม 2560   View : 4738