สำนักงานเทศบาลตำบลชุมพร

Municipality Chumporn

โครงการห้องน้ำท้องถิ่นสะอาดและปลอดภัย ปีงบประมาณ 2562


ออนไลน์ : 3

Gallery :: โครงการห้องน้ำท้องถิ่นสะอาดและปลอดภัย ปีงบประมาณ 2562
โครงการห้องน้ำท้องถิ่นสะอาดและปลอดภัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๒
เทศบาลตำบลชุมพร  อำเภอเมยวดี  จังหวัดร้อยเอ็ด
 
๑. หลักการและเหตุผล
           การดูแลด้านสุขภาพอนามัยเป็นภารกิจที่สำคัญประการหนึ่งขององค์กรปกครองส่วนท้องงถิ่นซึ่งห้องน้ำสาธารณะก็เป็นเรื่องสำคัญที่องค์กรปอครองส่วนท้องถิ่นต้องจัดให้มีเพื่อให้บริการประชาชนแต่ยังมีปัญหาเรื่องความสะอาด  ความพอเพียง และความปลอดภัย   โดยเฉพาะห้องน้ำสาธารณะในส่วนที่ราชการ สวนสาธารณะ และสถานที่ท่องเที่ยวต่างๆ
           รัฐบาลได้ตระหนักถึงความสำคัญของบริการสาธารณะดังกล่าว จึงได้กำหนดให้พัฒนาห้องน้ำสาธารณะในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้ได้มาตรฐาน  เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชน ประจำปี พ.ศ.๒๕๖๒ ทั้งนี้ เพื่อไม่ให้ห้องน้ำสาธารณะเป็นแหล่งแพร่เชื้อโรคติดต่อและเพื่อความพึ่งพอใจของประชาชน และนักท่องเที่ยว  โดยเน้นพัฒนาส้วมสาธารณะให้ได้มาตรฐาน ๓ เรื่อง คือ สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย
           ๑.๑ สะอาด หมายถึง ห้องน้ำจะต้องได้รับการดำเนินการให้ถูกหลักสุขาภิบาล ( Sanitation  Conditions ) เช่น ห้องน้ำและสุขภัณฑ์ทั้งหมดจะต้องสะอาด  ไม่มีกลิ่นเหม็น มีวัสดุ  อุปกรณ์สิ่งอำนวยความสะดวกไว้บริการ  เช่น น้ำสะอาด สบู่ล้างมือ กระดาษชำระเพียงพอ  การเก็บ  กัก หรือบำบัดสิ่งปฎิกูลถูต้องและมีสภาพแวดล้อมสวยงาม ซึ่งจะส่งผลดีทั้งทางร่างกายและจิตของผู้ให้บริการ
           ๑.๒ เพียงพอ  หมายถึง ต้องมีห้องน้ำเพียงพอแก่ความต้องการของผู้ให้บริการรวมถึงผู้พิการ  ผู้สูงวัย หญิงตั้งครรภ์  และห้องน้ำต้องพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
           ๑.๓ ปลอดภัย หมายถึง ผู้ใช้บริการจะต้องปลอดภัยขณะใช้ห้องน้ำ เช่น สถานที่ตั้งต้องไม่เปลี่ยวจัดห้องน้ำแยกเพศชาย-หญิง
          เทศบาลตำบลชุมพร  ได้เล็งเห็นความสำคัญในการรักษาความสะอาดของห้องน้ำสาธารณะ  จึงได้ดำเนินการจัดทำโครงการห้องน้ำท้องถิ่นสะอาดและปลอดภัย ปีงบประมาณ ๒๕๖๒ ขึ้น  เพื่อมอบเป็นของขวัญปีใหม่ให้กับประชาชนตามนโยบายรัฐบาลและกระทรวงมหาดไทย ต่อไป
 
๒. วัตถุประสงค์
           ๒.๑ เพื่อพัฒนาห้องน้ำสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นให้มีสภาพที่ดี ได้มาตรฐานและมีการดูแลอยู่สม่ำเสมอ
           ๒.๒ เพื่อปรับปรุงภาพลักษณ์ที่ดีขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซึ่งต้องมีบริการสาธารณะด้านต่างๆ  ที่มีมาตรฐาน
 
๓. เป้าหมาย
           ๓.๑ ห้องน้ำสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น  ได้แก่ ห้องน้ำในสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่ง   
           ๓.๒ ปรับปรุงห้องน้ำสาธารณะ สำหรับผู้พิการ ผู้สูงอายุและหญิงตั้งครรภ์อย่างน้อยหนึ่งที่
 
๔. วิธีการดำเนินงาน
           ๔.๑ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นซักซ้อมแนวทางการดำเนินงานโครงการ “ห้องน้ำท้องถิ่นสะอาดและปลอดภัย” ให้พนักงานเทศบาลและลูกจ้างของหน่วยงานทราบ
           ๔.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นพัฒนาห้องน้ำสาธารณะที่อยู่ในความรับผิดชอบ ได้แก่ ห้องน้ำในสำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและศูนย์พัฒนาเด็กเล็กทุกแห่ง  เพื่อความพึงพอใจของประชาชน  โดยเน้นพัฒนาห้องน้ำสาธารณะให้ได้มาตรฐาน ๓ เรื่อง คือ สะอาด เพียงพอ ปลอดภัย ตามเกณฑ์มาตรฐาน ๓ ด้าน ๑๖ ตัวชี้วัด ประกอบด้วย
 
           (๑) เกณฑ์ด้านความสะอาด (Healthy:h)
               (๑.๑) พื้นผนัง เพดาน โถส้วม ที่กดโถส้วม โถปัสสาวะ สะอาด  ไม่มีคราบสกปรกอยู่ในสภาพดีใช้งานได้
               (๑.๒) มีน้ำใช้สะอาด เพียงพอ และไม่มีลูกน้ำยุง ภาชนะเก็บกักน้ำ ขันตักน้ำ  สะอาด อยู่ในสภาพดี  พร้อมใช้งานได้
               (๑.๓) มีกระดาษชำระเพียงพอต่อการใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ ( อาจจำหน่ายหรือบริการฟรี ) หรือสายฉีดน้ำที่สะอาด และใช้งานได้
               (๑.๔) อ่างล้างมือ ก๊อกน้ำ กระจก สะอาด ไม่มีคราบสกปรก อยู่ในสภาพที่ดี และใช้งานได้
               (๑.๕) สบู่ล้างมือ พร้อมให้ใช้ตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
               (๑.๖) ถังรองรับขยะมูลฝอย  สะอาด มีฝาปิด อยู่ในสภาพดี  ไม่รั่วซึม  ตั้งอยู่บริเวณอ่างล้างมือหรือบริเวณใกล้เคียง
               (๑.๗) มีการระบายอากาศที่ดีและไม่มีกลิ่นเหม็น
               (๑.๘) สภาพท่อระบายสิ่งปฏิกูลและถังเก็บกักไม่รั่ว แตก  หรือชำรุด
               (๑.๙) จัดให้การทำความสะอาด และระบบการควบตรวจตราเป็นประจำ
           (๒.) เกณฑ์ด้านความเพียงพอ (ACCESSIBILITY:A)
               (๒.๑) จัดให้มีส้วมนั่งราบสำหรับผู้พิการ  ผู้สูงวัย หญิงตั้งครรภ์และประชาชนทั่วไปอย่างน้อยหนึ่งที่
               (๒.๒) ห้องน้ำสาธารณะพร้อมใช้งานตลอดเวลาที่เปิดให้บริการ
           (๓) เกณฑ์ความปลอดภัย (Safety:s)
               (๓.๑) บริเวณที่ตั้งห้องน้ำต้องไม่อยู่ที่ลับตา/เปลี่ยว
               (๓.๒) กรณีที่มีห้องน้ำตั้งแต่ ๒ ห้องขึ้นไป ให้แยกเป็นห้องสำหรับชาย หญิง โดยมีป้ายหรือสัญลักษณ์ที่ชัดเจน
               (๓.๓) ประตูที่เปิด-จับ และที่ล็อคด้านในสะอาด อยู่ในสภาพที่ดี ใช้งานได้
               (๓.๔) พื้นห้องน้ำแห้ง
               (๓.๕) แสงสว่างเพียงพอ สามารถมองเห็นได้ทั่วบริเวณ
           ๔.๓ ประชาสัมพันธ์เชิญชวนหน่วยงานของรัฐ ภาคเอกชน ภาคประชาชนร่วมกัน พัฒนาห้องน้ำสาธารณะต่างๆ ให้สะอาด เพียงพอ  ปลอดภัย
           ๔.๔ จัดกิจกรรมพัฒนาห้องน้ำสาธารณะต่างๆให้สะอาด เพียงพอ  ปลอดภัย
           ๔.๕ รายงานและติดตามผลการดำเนินการ
๕. ระยะเวลาดำเนินการ
           ตั้งแต่เดือนธันวาคม ๒๕๖๑  ถึง เดือนกันยายน  ๒๕๖๒
๖. ตัวชี้วัดความสำเร็จ
           ๖.๑ ร้อยละของห้องน้ำสาธารณะในความรับผิดชอบขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับการดูแล ปรับปรุง ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพที่ใช้การได้ดี
           ๖.๒ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น มีการจัดการห้องน้ำสาธารณะตามเกณฑ์มาตรฐาน ๓ ด้าน ๑๖ ตัวชี้วัด
๗. ประโยชน์ที่ประชาชนได้รับ
           ๗.๑ ประชาชนที่ใช้บริการห้องน้ำสาธารณะขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นได้รับมาตรฐานที่ดี มีมาตรฐาน
           ๗.๒ ห้องน้ำสาธารณะได้รับการดูแล ปรับปรุง ซ่อมแซมให้อยู่ในสภาพดีอย่างสม่ำเสมอ
 
 
 
 
๘.งบประมาณ
รายละเอียดค่าใช้จ่าย  ดังนี้
  1. ค่าป้ายไวนิล โครงการห้องน้ำท้องถิ่นสะอาดและปลอดภัย                                        เป็นเงิน    ๔๕๐  บาท
ขนาด ๑๒๐ × ๒๔๐ ซม.
  1. ค่าน้ำยาล้างห้องน้ำ ขนาด ๙๐๐ มล. จำนวน  ๖  ขวดๆละ  ๕๗  บาท    เป็นเงิน   ๓,๔๒๐ บาท
               จำนวน  ๑๐  เดือน
  1. ค่าแปรงล้างสุขภัณฑ์  จำนวน  ๑๕ อันๆละ ๔๕ บาท                                  เป็นเงิน     ๖๗๕  บาท
  2. ค่าแปรงขัดพื้นด้ามยาว จำนวน ๑๐ ด้ามๆละ ๑๕๐ บาท                          เป็นเงิน   ๑,๕๐๐ บาท
 
รวมทั้งสิ้น  ๖,๐๔๕  บาท  ( หกพันสี่สิบห้าบาทถ้วน )
 
 
.ผู้รับผิดชอบโครงการ
           งานสาธารณสุขและสิ่งแวดล้อม   ฝ่ายปกครอง   สำนักปลัดเทศบาล   เทศบาลตำบลชุมพร 
 
 
 
                                           ( นายวิทวัฒน์ ด้วงทอง )
                                      นักวิชาการสาธารณสุขปฏิบัติการ
 
 
 ความเห็นของหัวหน้าฝ่ายปกครอง                             ความเห็นของหัวหน้าสำนักปลัด
 
.............................................................                          .............................................................
 
        ( นางนิวาท  โพนศิริ )                                            ( นายฐปนพงศ์  แสงใสแก้ว )
         หัวหน้าฝ่ายปกครอง                                    รองปลัดเทศบาลตำบลชุมพร  รักษาราชการแทน
                                                                               หัวหน้าสำนักปลัดเทศบาล
                  
 
    ความเห็นของปลัดเทศบาล                                 ความเห็น/ข้อสั่งการนายกเทศมนตรี
.............................................................                          ..............................................................
 
สิบเอก
          ( สายรุ้ง  ไชยภาลี )                                            ( นายประมวล  หาญพละ )
       ปลัดเทศบาลตำบลชุมพร                                         นายกเทศมนตรีตำบลชุมพร
วันที่ : 4 ธันวาคม 2561   View : 23291